วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ครบรอบ 1 ปีการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส(Lehman Brothers)

จากข่าว ไทยรัฐ - 1ปีเลห์แมนล้ม!ช็อกโลก จุดเริ่มต้น วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ วิเคราะห์ ภาคการเงินสหรัฐฯ จุดเริ่มต้นของวิกฤติ เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ความตื่นเริ่ม “สงบ” ตั้งแต่ต้นปี 52 หลังคนไม่มั่นใจซับไพร์ม จะกินลึกแค่ไหน

วันจันทร์ นี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส(Lehman Brothers) วานิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐฯ

ทำเนียบ ขาวสหรัฐ แถลงผู้นำสหรัฐฯ จะบอกกล่าวถึงความคืบหน้าของรัฐบาลในการกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และสถานการณ์วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งความพยายามของสหรัฐฯและทั่วโลกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่นนี้ขึ้นอีก

ย้อนไป เมื่อ 15 กันยายน 2551 ข่าวครึกโครม โด่งดังไปทั่วโลก เมื่อยักษ์ใหญ่แห่งวงการธนาคารเพื่อการลงทุน เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ประกาศล้มละลาย

ทำเอาโลกทุนนิยมทั้งใบ สั่นคลอน แทบไม่มีใครเชื่อ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการ ที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 1 ศตวรรษ จะมาปิดฉาก จากปัญหาต้นตอวิกฤตซับไพร์ม หรือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ (Sub Prime Mortgage) ที่ปะทุให้เห็นเมื่อต้นปี 2550
ครบรอบ 1 ปีการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส(Lehman Brothers)
การล้มของเลห์แมน ทำให้ฟองสบู่เศรษฐกิจสหรัฐฯ แตก ก่อนจะลุกลามไปทั่วโลก

ล่า สุด นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตือนโลกจะเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม และเชื่อว่า การฟื้นตัวต้องไม่มีมาตรการปกป้องทางการค้ามาเป็นอุปสรรคขัดขวาง

สำหรับ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ณ วันนี้ ศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ ว่า รัฐบาลโอบามา คงจะประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่า เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เริ่มมีการฟื้นตัวในบางส่วน แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป

ศ.ดร.ตี รณ วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ที่เป็นจริง ภาคการเงินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤต เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ความตื่นตระหนกต่างๆ “สงบ” ไปตั้งแต่ต้นปี 2552 แม้ยังมีปัญหาอยู่หลายภาคส่วน

ความสงบที่ ว่า มาจาก 1. ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เข้าไปโอบอุ้มปัญหาสภาพคล่องอย่างรวดเร็ว เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งเรื่องการค้ำประกัน และสภาพคล่อง 2.ระบบของสหรัฐฯ แม้ความรุนแรงของสถานการณ์วิกฤต รุนแรงเป็นลำดับน้องๆของปีค.ศ.1930 แต่ก็มีระบบที่รองรับความเสี่ยงดีกว่ายุคนั้น ปัจจุบันสหรัฐฯมีระบบรองรับการฝากเงิน สามารถรองรับความไม่แน่นอนได้สูง

“ส่วน ภาคเศรษฐกิจแท้จริง สถานการณ์ไม่ได้กระเตื้องมากนัก ยอดขายต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่บางส่วนติดลบอยู่” ศ.ดร.ตีรณ กล่าว และว่าขณะที่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นดัชนีสำคัญ ก็ไหลลงเร็ว จนถึงจุดระดับที่คาดคะเนไว้ คือประมาณลบ30-35 เปอร์เซ็นต์ นับจากจุดสูงสุด ราคาบ้านที่อยู่อาศัยเริ่มนิ่งพอสมควร ปัจจัยต่างๆ เริ่มเห็นภาพว่า ภาคการเงินหยุดเลือดไหล แต่ภาคการผลิตยังทรงตัว ไม่ดีขึ้น

ศ.ดร.ตีรณ กล่าวถึงการที่ประธานาธิบดีของสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญ ผู้นำสหรัฐฯ คงจะบอกว่า รัฐบาลต้องดำเนินการดูแลด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ แต่ปัญหาคือว่า รัฐบาลจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้นานแค่ไหน เพราะรัฐบาลได้ก่อหนี้ไว้มาก อีกทั้งความน่าเป็นห่วงด้านการผลิตยังมีอยู่ จากตัวเลขที่เริ่มทรงตัว อาจแย่ลงได้อีก ด้วยสาเหตุ ที่ภาคเอกชน ยังไม่ได้แสดงถึงทิศทางจะขยายการผลิตอย่างแท้จริง เป็นแค่การปรับยอดขาย ปรับสต็อก ไม่ถึงขั้นมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนต่อ ฉะนั้น เศรษฐกิจที่ขาดภาคเอกชนมาลงทุน หรือขยายการผลิต คงบอกไม่ได้ว่า “ฟื้นตัว”

“รัฐบาล สหรัฐฯ อัดฉีดเม็ดเงินไปมาก ไม่ได้หมายความว่าจะทำได้อีกมากนัก และแม้ทำได้ก็แบบอ่อน ไม่เหมือนช่วงเกิดวิกฤตใหม่ๆ อีกทั้ง ราคาน้ำมันของโลกยังเป็นปัจจัยที่ไม่แน่นอน เป็นไปได้ที่จะขยับสูงขึ้น หากขยับแรง มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกในอนาคต”

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจ โลก ศ.ดร.ตีรณ เชื่อว่า เศรษฐกิจโลกปรับตัวแบบ W มากกว่า แต่ตัว Vจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติของภาคการเงิน เนื่องจากภาคการเงินมีการแกว่งตัวเร็ว เวลาลงจะลงแรง ขึ้นแรง เนื่องจากว่า มีเรื่องการเก็งกำไร การรับรู้ข่าวสาร เข้ามาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

1ปีเลห์แมนล้ม!ช็อกโลก จุดเริ่มต้น วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

ขณะที่แผนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ศ.ดร.ตีรณ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องทำอยู่แล้ว เพราะคนสหรัฐต้องการ แถมยังมีผลต่อคะแนนเสียงของพรรคการเมือง ไม่ว่าพรรคไหนเข้ามา ต้องมาลงทุนเรื่องแผนสุขภาพ แต่จะมีรัฐบาลไหนกล้าผ่านแผนสุขภาพ เดินหน้าไปได้โดยที่รัฐไม่เข้าไปโอบอุ้มมากนัก ซึ่งเข้าใจว่า ในสหรัฐ ปัจจัยทางการเมือง ไม่เอื้ออำนวยให้มีการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ หรือให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ หากปฏิรูป จะหมายถึง ระบบประกันสุขภาพ ทำเฉพาะคนจน กลุ่มคนชั้นกลาง ต้องไปพึ่งภาคเอกชน ส่งผลต่อคะแนนเสียง ซึ่งเป็นเรื่องยาก

เมื่อถามว่า ธนาคารในสหรัฐฯล้มจะมีอีกหรือไม่ ศ.ดร.ตีรณ กล่าวว่า ยังไม่มีใครบอกได้ บอกได้แต่เพียงว่า ขณะนี้ไม่มีเพิ่ม สถานการณ์ทางการเงินเริ่มสงบลง เพราะเดิมคนไม่มั่นใจซับไพร์ม ว่า จะกินลึกถึงไหนบ้าง เมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ไม่มี แต่ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะไม่มี

“สำหรับ ภาคการผลิตยังต้องปรับโครงสร้าง เพราะมีข่าวการเทคโอเวอร์ อีกมากพอสมควร เช่น เจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) บริษัทผลิตรถยนต์จากสหรัฐฯ ตกลงที่จะขาย โอเปิล บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนี ซึ่งเป็นบริษัทลูก ให้กับ แม็กนา บริษัทผู้ผลิตอะไหล่รถยนต์รายใหญ่ของแคนาดา เป็นต้น”

ทั้งนี้ ศ.ดร.ตีรณ มองว่า ในส่วนภาคการผลิตที่เกี่ยวกับงานวิทยาศาสตร์ ในสหรัฐฯ ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะถือเป็นจุดที่ทำให้สหรัฐฯ ไม่ถลำลึก ยังมีบางเซ็คเตอร์ไปได้อยู่ แต่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ เก็งกำไร หรือกำลังซื้อของประชาชนได้รับผลกระทบ

สำหรับประเทศไทย ศ.ดร.ตีรณ วิเคราะห์ว่า ลักษณะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จะคล้ายกับเศรษฐกิจโลก แต่หากภาคส่งออกยังไม่ปรับตัวดีขึ้น การฟื้นตัวคงจะยาก เพราะของไทยระดับการฟื้นตัวไม่มากเหมือนสหรัฐฯ

โอบามา“สหรัฐฯส่วนที่โดนแรงคือภาคการเงิน แต่สหรัฐฯพึ่งการส่งออกไม่มากเหมือนกับไทย ประเทศที่พึ่งภาคการส่งออกวิกฤตรอบนี้ได้รับผลกระทบหนักสุด” ศ.ดร.ตีรณ กล่าว และว่า ของไทยจะฟื้นตัวแรงยาก แต่หากฟื้นก็เป็นการฟื้นตัวทางเทคนิค ซึ่งเป็นไปได้เพราะฐานตัวเลขต่ำ

เมื่อถามถึงโครงการไทยเข้มแข็ง ของรัฐบาล จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างมากน้อยแค่ไหน ศ.ดร.ตีรณ กล่าวว่า กระตุ้นได้ในระดับที่ไม่ถึงกับสูงมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นโดยอาศัยเม็ดเงินที่คาดว่าจะสูญหายไป เป็นเม็ดเงินลงทุนที่ตามปกติ เพียงแต่ว่ารายได้ของภาครัฐบาลลดลง จึงจำเป็นต้อง หาเงินมาชดเชย โดยการก่อหนี้สาธารณะ

“งบประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท เป็นตัวเลขที่รวมงบลงทุน 3 ปี ไม่ใช่เงินใหม่ เป็นรายจ่ายที่ทำให้ภาครัฐบาลไม่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ในแง่ของขนาดไม่ได้ใหญ่มาก แต่มีข้อดีทำให้หนี้สาธารณะของไทยสูงโดยไม่จำเป็น ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้โครงการนี้ ใช้เม็ดเงินอย่างชาญฉลาด อย่างตรงจุด มีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาว”

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.ตีรณ เสนอแนะว่า รัฐบาลควรหันมาทำโครงการที่เป็นชิ้นเป็นอันให้มากขึ้น ไม่ควรเป็นโครงการประเภทกระทรวงขอมา ควรเป็นโครงการลักษณะยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ปล่อย ให้ระบบราชการทำไป แล้วแต่นักการเมือง ข้าราชการเสนอมา ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้โครงการที่ดี ส่วนที่เหลือควรเป็นโครงการใหม่ๆ ได้แล้ว และเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญโดยเฉพาะคมนาคมระบบราง ซึ่งล้าหลัง ส่วนเงินที่จะมาใช้ต้องไม่ไปกังวลว่า ต้องรีบใช้ เพราะรีบใช้แล้วโครงการไม่ดี จะไม่คุ้ม ต้องทำให้ได้โครงการ ซึ่งอาจยาวหน่อย แต่ก็เป็นประโยชน์

เมื่อถามว่า ให้คะแนนการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล เท่าใด ดร.ตีรณ กล่าวว่า ให้ 60-70 เปอร์เซนต์ ถือว่า รัฐบาลมีการปรับตัวเข้ากับปัญหาได้รวดเร็ว เป็นจุดเด่นของรัฐบาล แต่จุดอ่อนคือเรื่องของการดำเนินการที่เพิ่งระบบราชการเกินไป ขาดการดำเนินการเชิงรุก ส่วนใหญ่ให้ระบบราชการเดินเรื่อง เร่งการใช้จ่ายให้รวดเร็ว แม้จะมาถูกทาง แต่หากโครงการไม่ดี ไม่รอบคอบ เอาคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาช่วยดู โครงการเหล่านั้นจะสร้างปัญหาในอนาคต หรือแม้กระทั่งการปล่อยให้คนที่อยากได้เป็นคนกำหนด

ส่วนกระแสข่าว การยุบสภาที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ ศ.ดร.ตีรณ เชื่อว่า หากเป็นจริงก็ไม่กระทบ เนื่องจากขณะนี้งบประมาณผ่านสภาฯแล้ว จึงเห็นว่า การยุบสภา ไม่มีปัญหา เพราะเม็ดเงินมีแล้ว

เมื่อมองบทบาทนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับการทำหน้าที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ศ.ดร.ตีรณ กล่าวว่า ติดขัดจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผู้นำจะต้องเข้าไปดูแลเรื่องการเมืองมาก แต่เท่าที่ดู นายกรัฐมนตรี ก็มีบทบาทการคุมงานเศรษฐกิจและงานทางการเมืองพอๆ กัน

“ในทางการเมือง อาจสับสน เนื่องจากอำนาจทางการเมืองอยู่ที่เลขาธิการพรรค ค่อนข้างมากตอนนี้เป็นเรื่องความสับสนระหว่างอำนาจที่แท้จริงในพรรค อำนาจที่แท้จริงในรัฐบาล มีอำนาจน้องๆ นายกฯ” ศ.ดร.ตีรณ กล่าว และคิดว่า นายกฯ ไม่ได้คาดหวังอยู่แล้วว่า รัฐบาลจะอยู่นาน คาดการณ์แค่ 6-9 เดือน ขณะนี้ผ่าน 6 เดือนถือว่าเกินเป้าหมาย และได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการพอสมควร จึงคิดว่า หากมีการยุบสภาขณะนี้ ก็ไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก คิดว่าการยุบสภาไม่น่ากลัว หากการยุบสภาทำให้ระเบิดทางการเมืองไม่ระเบิด ก็น่ายุบ เนื่องจากการมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพย่อมดีกว่าแน่นอน
http://www.thairath.co.th/content/eco/32724

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น