วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ เยว่ปิ่ง (Yue Bing) หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake)

พอดีไปเจอ(อีกแล้ว ซะงั้น?)ใน Google Logo เทศกาลไหว้พระจันทร์ - google logo
เทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวัน
by wiki

เทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนโดยปกติจะมีขึ้นในวันที่ 15 (วันเพ็ญ) เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้จัดให้มีขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงเทศกาลไหว้พระจันทร์ไม่เป็นที่ ปรากฎแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระ จันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ.1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้ง ประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้
นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเสี้ยงหงอ (บ้างก็เรียกฉางอี้) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำ อมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความ เจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าว เจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8

เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของ ชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว

เยว่ปิ่ง (Yue Bing) หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake)ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วน เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมา ซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด
ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด
จาก : http://sunsite.au.ac.th/thailand/special_event/moon/index_t.html

เทศกาลไหว้พระจันทร์ : ความกลมเกลียวของชาติ-ครอบครัว
เทศกาล ไหว้พระจันทร์มีชื่อทางการภาษาจีนว่า "จงชิวเจี๋ย" เสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "ตงชิวโจ็ยะ" ตรงกับวัน ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๘ ของปฏิทินจีน จึงเรียกกันว่าเทศกาล "ปาเย่ว์ปั้น ( -โป๊ยะง็วยะปั่ว)" แปลว่า "กลางเดือน ๘" หรือ "ปาเย่ว์เจี๋ย ( -โป๊ยะง็วยะโจ็ยะ)" คือ "เทศกาลเดือน ๘" อีกด้วย

เยว่ปิ่ง (Yue Bing) หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake)วันนี้ ทุกคนต้องกลับไปอยู่พร้อมหน้ากันที่บ้านของตน จึงนิยมเรียกว่า "ถวนหยวนเจี๋ย ( -ถ่วงอี๊โจ็ยะ)-เทศกาลชุมนุมพร้อมหน้า" มีเดือนเพ็ญเป็นสัญลักษณ์ของคนในครอบครัวอยู่ครบถ้วน กิจกรรมสำคัญคือไหว้พระจันทร์ เทศกาลนี้จึงมีชื่อที่นิยมเรียกว่า "เย่ว์เจี๋ย ( -ง็วยะโจ็ยะ)-เทศกาลพระจันทร์" และ "ไป้เย่ว์เจี๋ย ( -ไป้ง็วยะโจ็ยะ)-เทศกาลไหว้พระจันทร์" ปัจจุบันในจีนเกือบทุกถิ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เทศกาลนี้เป็นเทศกาลใหญ่อันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น

เหตุ ที่เรียกเทศกาลนี้ว่า "จงชิว" เพราะเดือน ๘ เป็นเดือนกลางฤดูสารท ปฏิทินจีนเก่าที่เรียกว่าปฏิทินเกษตรใช้จันทรคติควบสุริยคติ ตามจันทรคติเดือนหนึ่งมี ๒๙-๓๐ วัน ๑ ปี มี ๑๒ เดือน ๓๕๔-๓๕๕ วัน ตามสุริยคติแบ่งปีเป็น ๔ ฤดู ฤดูหนึ่งมี ๒๔ อุตุปักษ์ ( ) อุตุปักษ์ละ ๑๕-๑๖ วัน ฤดูหนึ่งมี ๖ ปักษ์ ๑ ปี มี ๓๖๕-๓๖๖ วัน เนื่องจากปีจันทรคติน้อยกว่าปีสุริยคติอยู่ ๑๐ วัน ประมาณ ๓ ปี ใส่อธิกมาสครั้งหนึ่ง (๑๙ ปี มีอธิกมาส ๗ ครั้ง) ปีอธิกมาสมี ๑๓ เดือน เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้จีนใส่อธิกมาสเดือน ๗ (มีเดือน ๗ สองหน) วิธีนี้ทำให้เดือนกับฤดูไม่คลาดเคลื่อนกัน คือ เดือน ๑-๒-๓ ฤดูใบไม้ผลิ (วสันต์) เดือน ๔-๕-๖ ฤดูร้อน (คิมหันต์) เดือน ๗-๘-๙ ฤดูใบไม้ร่วง (สารท-ศารท) เดือน ๑๐-๑๑-๑๒ ฤดูหนาว (เหมันต์)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://blog.eduzones.com/jipatar/9448

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น