จากคราวที่แล้ว google (เฉพาะหน้าภาษาไทย) ทำลิ้งผิด ในวันเกิดของขงจื๊อ แต่กลับเชื่อมต่อไปค้นหาคำว่า "การประดิษฐ์บาร์โค้ด"
และในวันนี้น่าจะเป็น "การประดิษฐ์บาร์โค้ด" ของจริงซะแล้ว (กลายเป็นว่า ในไทยมีเรื่องประดิษฐ์บาร์โค้ดสองวันในช่วงเวลาใกล้ๆ กันซะงั้น!!!)
บาร์โค้ดตัวนี้ลองใช้มือถืออ่านดูแล้ว มันเขียนว่า "Google"
เกี่ยวกับ บาร์โค้ด(Barcode) by wiki
บาร์โค้ด (barcode) เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ได้ผลดี ในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย, การตรวจสอบยอดการขาย และสินค้าคงคลัง เราสามารถที่จะอ่านรหัสบาร์โค้ดได้ โดยใช้สแกนเนอร์หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการอ่านด้วยสายตา บางครั้งเราจะเห็นเครื่องเหล่านี้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางที่เราก็อาจจะคาดไม่ถึง ว่าจะนำไปใช้ได้
แต่เดิมมีการใช้บาร์โค้ดในร้านขายของชำและตามปกหนังสือ ต่อมาพบในร้านอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และร้านอุปโภคบริโภคทั่วไป ในแถบยุโรป รถบรรทุกทุกคัน ที่จะต้องวิ่งระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี จะต้องใช้แถบรหัสบาร์โค้ดที่หน้าต่างทุกคัน เพื่อใช้ในการแสดงใบขับขี่ ใบอนุญาต และน้ำหนักรถบรรทุก แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็ว ในขณะที่รถลดความเร็ว เครื่องตรวจจะอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด และแสดงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที
ปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ด 2 มิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยีRFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์เหมือนบาร์โค้ดในปัจจุบัน
เครื่องอ่านบาร์โค้ด by wiki
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (อังกฤษ: barcode reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวน หลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องอ่านรหัสเราเรียกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น