วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

170 ปีของ ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี(Pyotr Ilyich Tchaikovsky) by Google Logo

โลโก้กูเกิลวันนี้ เป็นแบบนี้ (ไม่พลาดๆๆๆ)

170 ปีของ ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี(Pyotr Ilyich Tchaikovsky) by Google Logo

ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี by Wikipedia

ปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ ค.ศ. 1874
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Piotr (หรือ Petr) Ilitch Tchaïkovski (หรือ Tchaïkovsky) - Пётр Ильи́ч Чайко́вский) เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมือง โวทคินสกี้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของแอนตอน รูเบนสไตน์ จากนั้นก็ถูกเรียกตัวให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูเบนสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานชิ้นสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนี หมายเลขหนึ่ง หรือชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาได้สมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขข้อขัดแย้งภายในตนเองว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1800) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ ชาวอิตาเลี่ยนผู้เอาแต่ใจตนเอง (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน โวรัก ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ปีเตอร์ ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยโรคอหิวาตกโรค
เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี้ และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย


ดูผลงานต่างๆ ของเค้าได้ที่
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%8A_%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B5

1 ความคิดเห็น: