วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Alexander Calder ผู้ริเริ่มการสร้าง ประติมากรรมจลดุล(mobile sculpture) by Google Logo

Google Logo คราวนี้ เป็น วันเกิดของ Alexander Calder (อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์)
Alexander Calder ผู้ริเริ่มการสร้าง ประติมากรรมจลดุล(mobile sculpture) by Google Logo

ดีไซน์คราวนี้ออกแนว อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ จริงๆนั้นล่ะ (ถ้าไม่ใช่ Google Logo นี่ไม่รู้เรื่องเลยนะเนี้ย)

Alexander Calder (อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์) คือใครหว่า?
by Wikipdia
http://th.wikipedia.org/wiki/อเล็กซานเดอร์_คาลเดอร์

Alexander Calder (อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์)อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ หรือ แซนดี้ คาลเดอร์ (อังกฤษ: Alexander Calder หรือ Sandy Calder) (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1898 - 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1976) เป็นประติมากรของขบวนการลัทธิเหนือจริงคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คาลเดอร์มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ริเริ่มการสร้าง “ประติมากรรมจลดุล”(mobile sculpture) นอกจากประติมากรรมจลดุลแล้วคาลเดอร์ก็ยังสร้างงานที่เป็น “ประติมากรรมศักยดุล” หรือ “ประติมากรรมสถิต” (stabile), จิตรกรรม, ภาพพิมพ์หิน, ของเล่น, พรมทอแขวนผนัง และ เครื่องประดับด้วย

คาลเดอร์ผู้เกิดที่ลอว์ตันในรัฐเพนซิลเวเนียในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่22 กรกฎาคม ค.ศ. 1898 มาจากครอบครัวที่เป็นศิลปิน อเล็กซานเดอร์ สเตอร์ลิง คาลเดอร์ บิดาของคาลเดอร์เป็นประติมากรผู้มีชื่อเสียงผู้สร้างงานประติมากรรมสำหรับติดตั้งในที่สาธารณะหลายชิ้นส่วนใหญ่ในฟิลาเดลเฟีย ส่วนปู่ประติมากร อเล็กซานเดอร์ มิลน์ คาลเดอร์ เกิดที่สกอตแลนด์และอพยพมาฟิลาเดลเฟียในปี ค.ศ. 1868 งานที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ของวิลเลียม เพนน์บนหอตึกเทศบาลเมืองฟิลาเดลเฟีย นาเนตต์ เลเดอเรอร์ คาลเดอร์มารดาของคาลเดอร์เป็นจิตรกรภาพเหมือนอาชีพผู้ได้รับการศึกษาจากสถาบันฌูเลียนและซอร์บอร์นในกรุงปารีสราวระหว่างปี ค.ศ. 1888 ถึงปี ค.ศ. 1893 ต่อมานาเนตต์ย้ายไปอยู่ที่ฟิลาเดลเฟียเมื่อไปพบกับอเล็กซานเดอร์ สเตอร์ลิง คาลเดอร์ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฟิลาเดลเฟีย บิดามารดาของคาลเดอร์สมรสกันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 พี่สาวคนโตมาร์กาเร็ต หรือ เพ็กกี้ คาลเดอร์เกิดในปี ค.ศ. 1896 ต่อมาเมื่อสมรสก็เปลี่ยนชื่อเป็น มาร์กาเร็ต คาลเดอร์ เฮย์ส และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น